วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยี หมายถึง

บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้า ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน (การศึกษาและ การสาธารณสุข ฯลฯ) ในการบริหารประเทศ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
บทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีการประมาณการว่าตลาดโลกสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อปีแม้ว่าในปัจจุบันจะมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจากการเป็นผู้ผลิตดังกล่าว แต่ด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีดังที่กล่าวมา นานาประเทศ ต่างสามารถรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากการเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น
ในภาคอุตสาหกรรมผลิตทุกแขนง เทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงแต่ถูกนำไปใช้โดยตรงในกระบวนการผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่ส่งผลให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง เป็นต้นว่าการออกแบบและเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (computer-aided design or drafting หรือ CAD) สามารถจะลดความผิดพลาด เพิ่มความแม่นยำ (accuracy) และย่นระยะเวลาการออกแบบได้อย่างมหาศาล เทคโนโลยีนี้ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดเก็บและนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในด้านการวิจัยและพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ตามรสนิยมของผู้ใช้ การตลาด การบริการหลังการขาย และการจัดการองค์กรและธุรกิจ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาต่างเริ่มตระหนักถึง บทบาทของเทคโนโลยีนี้ต่อการพัฒนาสังคมตามประเทศที่พัฒนาแล้ว และเล็งเห็นว่ามันสามารถจะก่อเกิดประโยชน์ต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจะ
 ทำให้การบริการที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐให้แก่ประชาชนมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น และต้นทุนต่ำลง
 ลดต้นทุนการบริการสาธารณสุขขณะที่เพิ่มปริมาณและคุณภาพของบริการสู่ประชาชนที่ยังไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึง
 สร้างโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าและทุกวัยได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างกว้างขวาง ฯลฯ
บทบาทต่อการให้บริการของรัฐและในด้านการศึกษา
ในด้านการให้บริการจากรัฐแก่ประชาชน อาทิ บริการสาธารณสุข การศึกษา และฝึกอบรม ก็ได้มีตัวอย่าง ที่เห็นผลตอบแทนที่ไม่เป็นเพียงนามธรรม แต่เป็นรูปธรรม อย่างชัดเจนในหลาย ๆ ประเทศ
การศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ถึงผลประโยชน์ของโทรคมนาคม โดยสมาพันธ์โทรคมนาคมโลก (ITU หรือ International Telecommunications Union) ชี้ให้เห็นถึงผลตอบแทนเทียบกับการลงทุนในอัตรากว่า 30 ต่อ 1 ในภาคบริการสาธารณสุข และกว่า 40 ต่อ 1 ในภาคเกษตรกรรม
ข้อสรุปในเบื้องต้นของโครงการ Civil Service Computerization Programme ของรัฐบาลสิงคโปร์ นอกจากจะก่อให้เกิดการให้บริการรัฐที่รวดเร็วคล่องตัว และสะดวกสบายแก่ประชาชนแล้ว ยังมีผลตอบแทนโดยตรง จากการลดค่าใช้จ่ายสืบเนื่องจากการใช้บุคลากรในภาครัฐให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในอัตรา 2.71 ต่อ 1 หน่วยการลงทุนต่อปี ทั้งนี้โดยยังไม่รวมถึงผลตอบแทนทางอ้อมอื่น ๆ อีกด้วย
ในประเทศสหรัฐฯ ผลงานศึกษาวิจัยหลาย ๆ ชิ้น ต่างชี้ถึงผลประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (เช่น CAI/CAL) ในการศึกษาฝึกอบรมว่าโดยเฉลี่ย จะสามารถลดค่าใช้จ่าย (ในประเทศสหรัฐฯ) ถึงกว่าร้อยละ 30 ขณะที่การเรียนรู้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 โดยใช้เวลาในการศึกษาลดลงถึงร้อยละ 40 เป็นต้น
ผลกระทบต่อวัฒนธรรมและสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ......... ผลที่ตามมาก็คือ วิทยุโทรทัศน์ได้สร้างธุรกิจบันเทิงที่หวังพึ่งตลาดมวลชนที่ใหญ่และมีความสำคัญมาก ความหลากหลายที่เคยเกิดจากกิจกรรมบันเทิงแบบพื้นบ้านจึงค่อย ๆ ถูกกำจัดออกไป ซึ่งก็เป็นการสูญเสียอย่างหนึ่ง หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านก็ได้ค่อย ๆ หมดความสำคัญตามไปด้วย และถูกทดแทนด้วย ผลิตภัณฑ์จากธุรกิจการบันเทิง กล่าวอีกนัยหนึ่ง การละเล่นหรือการแสดงในพื้นบ้าน ได้ถูกทดแทนด้วยการแสดงเชิงพาณิชย์ จะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ธุรกิจบันเทิง ที่อาศัยวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อมิได้มีอิทธิพลสูงมากต่อความคิดความอ่าน และต่อวัฒนธรรมของผู้คนที่ได้มีโอกาสดูอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระยะต่อไปนั้น จะเปิดโอกาสให้มีการสื่อข่าวสารจากจุดต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่คาดกันไว้ว่า จะมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง เราอาจจะได้ความหลากหลายกลับคืนมา แต่ความหลากหลายนี้คงจะมีลักษณะแตกต่างจากที่เคยมีอยู่เดิมอย่างแน่นอน

ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ http://www.info.tdri.or.th/library/quarterly/white-pp/wb14.htm

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

htr;o-']g;;op,'
vDhkp[
df'][k;p['/m'/vcgfhjzajdlsiudhjjffiojkcb
ckhldngfi9tr,wp[